๓.ลักษณะคำประพันธ์
๓.๑ ร่ายสุภาพ
ร่ายสุภาพแต่งเป็นวรรค วรรคละประมาณ ๕ คำ หรือมากกว่านั้น และจะแต่งให้ยาวกี่วรรคก็ได้ แต่สามวรรคสุดท้ายก่อนที่จะจบบทจะต้องมีฉันทลักษณ์เป็นโคลงสองสุภาพ ส่วนการสัมผัสนั้นคำสุดท้ายของวรรคหน้าจะสัมผัสกับคำที่ ๑,๒ หรือ ๓ ของวรรคต่อไปแต่ถ้าคำสุดท้ายของวรรคหน้าส่งสัมผัสเป็นคำเอกหรือคำโท คำที่รับสัมผัสในวรรคต่อไปจะต้องเป็นคำเอกหรือคำโทเช่นเดียวกัน ดังแผนภาพต่อไปนี้
๔.เรื่องย่อ
นิราศนรินทร์คำโคลงเริ่มเรื่องด้วยร่ายสุภาพยอพระเกียรติพระมหากษัตริย์ แล้วกล่าวถึงความเจริญของบ้านเมือง จากนั้นจึงรำพันถึงการจากนางอันเป็นที่รักและพรรณนาสถานที่ที่ผ่านไป โดยนายนรินทรธิเบศร์ (อิน) ได้ออกเดินทางเริ่มต้นจากคลองขุดผ่านวัดแจ้ง คลองบางกอก (ใหญ่) วัดหงส์ วัดสังข์กระจาย บางยี่เรือ (คลอง) ด่านนางนอง บางขุนเทียน บางบอน บางหัวกระบือ โคกขาม คลองโคกเต่า มหาชัย ท่าจีน บ้านบ่อ นาขวาง คลองสามสิบสองคด คลองย่านซื่อ แม่กลองปากน้ำ (ออกทะเล) บ้านแหลม คุ้งคดอ้อย เพชรบุรี ชะอำ ห้วยขมิ้น ท่าข้าม เมืองปราณ (บุรี) สามร้อยยอด ทุ่งโคแดง (ทุ่งวัดแดง) อ่าวนางรม (อ่าวประจวบ) บางสะพาน ขามสาวบ่าว อู่แห้ง เขาหมอนเจ้า โพสลับ ลับยักษ์ เมืองแม่น้ำ อู่สะเภา หนองบัว แก่งตุ่ม แก่งคุลาตีอก แก่งแก้ว (แก่งแก้วสงสาร) แก่งนางครวญ ปากน้ำ (ร่วม) เขาเพชร จนถึงตระนาว (ตะนาวศรี) เป็นที่หมายปลายทาง
๒.ประวัติผู้แต่ง
นิราศนรินทน์คำโคลง เป็นนิราศที่มีชื่อเสียงที่สุดในกรุงรัตนโกสินทร์ ด้วยมีความไพเราะเป็นเยี่ยม แต่เป็นที่หน้าเสียดายว่าความรู้เกี่ยวกับประวัติผู้แต่งนั้นไม่สู้ชัดเจนนักนอกจากปรากฏอยู่ในโคลงท้ายเรื่องว่า
“โคลงนิราศเรื่องนี้ นรินทร์อิน
รองบาทบวรวังถวิน ว่าไว้”
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น